แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า PDP ฉบับปรับปรุงใหม่

Last updated: 13 ก.พ. 2561  |  2029 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Digital Update อีก 1 เรื่อง
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงานเปิดเผยในงานสัมมนา "Load Forecast : ทิศทางการใช้ไฟฟ้าในอนาคต" ว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็น การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อนำไปปรับปรุงการ จัดทำพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ (Load Forecast) ซึ่งคาดว่าจะสรุปแล้วเสร็จภายในอีก 1-2 เดือนจากนั้นจะนำค่าพยากรณ์ดังกล่าวไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ฉบับปรับปรุงใหม่ที่คาดว่าจะจัดทำเสร็จไม่เกินกลางปี 2561

สำหรับการจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟเบื้องต้นคณะทำงานได้ดำเนินการแล้วมีทิศทางที่ลดลงจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) จากแผนPDP เดิม (PDP-2015)จะโต 4-5% ตลอดแผนเป็น 3.78%
  2. อัตราการเกิดใหม่ของประชากรไทยจะลดลงหลังปี 2570
  3. การผลิตไฟใช้เองจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 5,277 เมกะวัตต์ในปลายปี 2579 ทำให้ภาพรวมความต้องการใช้ไฟสูงสุด (พีก) จะลดลงราว 3,847-4,500 เมกะวัตต์

    อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟใช้เองยังต้องประเมินทิศทางของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย (โซลาร์รูฟท็อป) ซึ่งอ้างอิงการศึกษาจาก ต่างประเทศระบุว่าการแทรกตัวของโซลาร์รูฟท็อปในพื้นที่หนึ่งจะอิ่มตัว 100% ภายใน 50 ปีเนื่องจากราคาลดต่ำลงดังนั้นหากประเทศไทย เริ่มปีนี้ภายในปี 2579 จะแทรกตัวได้ราว 20% นอกจากนี้ ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ว่าจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการใช้พลังงานยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

    นายเทียนไชย จงพีร์เพียง ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า จากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟกรณีฐาน (Base Case) ที่ได้คำนึงถึงพีกและการประหยัดพลังงานที่จะเป็นไปตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 30% ได้ตามแผนจะทำให้พีกปลายปี 2579 อยู่ที่ประมาณ 45,805 เมกะวัตต์ หรือลดลงจากแผนพีดีพีฉบับปัจจุบัน 3,847 เมกะวัตต์หรือคิดเป็นลดลง 7.7% ส่วนกรณีสถานการณ์ปกติ (BAU) หรือเป็นพีกเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในปี 2579 พีกจะอยู่ที่ 54,771 หรือลดลงจากแผนพีดีพีปัจจุบัน 4,529 เมกะวัตต์

    3 ประชาชาติธุรกิจ พลิกโฉมพลังงาน...ด้วยดิจิทัล ไม่ว่าใครก็ผลิต-ขายไฟเองได้

    การแทรกซึมของเทคโนโลยี ดิจิทัลในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น หลายอย่างรอบตัวควบคุมได้เพียงนิ้วสัมผัส เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือระบบไอแบงกิ้ง ซึ่งในแวดวงพลังงานมีการตั้งคำถามว่า จะเป็นอย่างไรเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลแทรกซึมในโลกของพลังงานบ้าง ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้พูดถึงประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจบนเวทีปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Digital World Of Energy" ในงานมอบเข็มประกาศเกียรติคุณนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น เมื่อเร็ว ๆ นี้

    ดร.ทวารัฐ อธิบายว่า องค์ประกอบสำคัญของดิจิทัลคือ ข้อมูล การเชื่อมโยงส่ง-ถ่ายข้อมูลได้ตลอดเวลาและมีสมองกลในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ มาดูกันที่ข้อดีของการนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในเรื่องต่าง ๆ

    มาถึงไฮไลต์ที่ ดร.ทวารัฐต้องการบอก คือ จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับพลังงานอย่างไร ที่จัดไว้ 4 มิติ คือ

1) การ ขนส่ง ที่ชัดเจนแล้วคือ อูเบอร์ และแกร็บ และในอนาคตเมืองจะถูกจัดระเบียบ ให้เป็น "SmartCompact" หรือเมืองที่พึ่งพาระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น

2) ระบบไฟฟ้าในอาคาร นั่นคือ ในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถใช้ดิจิทัลมาควบคุมการใช้ไฟฟ้าในบ้านของตัวเองได้ หัวใจสำคัญของการควบคุมคือ "ระบบเซ็นเซอร์"

3)ภาคอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมให้ "smart" มากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมองกล

และมาที่มิติสุดท้าย 4)ระบบผลิตจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่ง ดร.ทวารัฐระบุชัดเจนว่า ไอเดียนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริง ที่ ดร.ทวารัฐวาดภาพระบบไฟฟ้าในอนาคตว่า ภาพเดิมของไฟฟ้าในวันนี้คือ โรงไฟฟ้าในฐานะผู้ผลิตจะส่งไฟฟ้าต่อไปยังผู้ใช้ ในขณะที่ระบบใหม่นั้น จะเปลี่ยนมาเป็น "การส่งไฟฟ้า 2 ทาง" นั่นคือ นอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว บ้านของผู้ใช้ไฟที่อยู่ใกล้เคียงกันก็ส่งไฟฟ้าระหว่างกันได้

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวควรกำหนดเป็นนโยบายให้ชัดเจน และหากจะพัฒนาตามไอเดียดังกล่าวจะต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปลดล็อกตั้งแต่พระราชบัญญัติกำกับกิจการพลังงานฉบับที่ใช้ในปัจจุบันให้สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่สำคัญคือ ทั้ง 3 กิจการไฟฟ้าต้องปรับตัวและร่วมมือกัน และที่สำคัญไม่แพ้กันคือรัฐบาลต้องกล้าลอง...

Powered by MakeWebEasy.com