Agtech สะท้อนภาพ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตร”

Last updated: 16 ต.ค. 2560  |  1142 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Agtech สะท้อนภาพ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตร”

โลกของเทคโนโลยีทางการเกษตรหรือ Agtech มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากอุตสาหกรรมแบบเสี่ยงโชค มาเป็นอุตสาหกรรมที่พยากรณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีอัตโนมัตินั้น ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในพืชมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อีกทั้งเทคโนโลยีจะทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกพืชผักรับประทานเองในที่อยู่อาศัยของตัวเองได้ จนอาจทำให้โครงสร้างตลาดผลผลิตการเกษตรของโลกเปลี่ยนไป ทั้งนี้เพราะผลผลิตการเกษตรที่เคยผลิตโดยเกษตรกรที่ใช้แรงงานในประเทศเกษตรกรรม กลายมาเป็นคนในเมืองในทุกๆประเทศสามารถผลิตพืชผักรับทานเองในที่พักอาศัย โดยแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเกษตรในอนาคตอันใกล้ มีดังนี้:

1. เทคโนโลยีเซนเซอร์ในสวนในไร่

ปัจจุบัน ชาวนามีแนวโน้มที่จะมี iPhone และ iPad มากขึ้น เหมือนมีเครื่องมือสำหรับใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพการเจริญเติบโต ทั้งคุณภาพดินและความชื้นและข้อมูลอื่น ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้ หรือว่ามีแต่ไม่ใช่ในแบบเรียลไทม์

แม้แต่บริษัทแบบดั้งเดิมอย่าง John Deere ก็ได้สร้างแพลตฟอร์มและร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อเริ่มต้นทำฟาร์มที่ทันสมัยโดยทำความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในบริษัทที่ให้บริการโซลูชั่นดังกล่าวคือ Arable ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agtech) ซึ่งเป็นผู้สร้าง PulsePod ที่เป็นเครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบหกแถบ, เครื่องตรวจวัดรังสีสี่ทิศทาง และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่สามารถวัดกระแสน้ำได้มากกว่า 40 ประเภท เช่น ฝน, ลูกเห็บ, ความต้องการน้ำของพืช, หรือแม้กระทั่งมลพิษทางอากาศ เป็นต้น โดยมีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา (มี Bluetooth ในตัว, WiFi และโทรศัพท์มือถือ)

โดยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในหน่วยงานความมั่นคง (การเข้ารหัสระดับทางการทหาร) มีความยืดหยุ่น (API ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับแพลตฟอร์มที่มีอยู่เดิม) และการควบคุม (ลูกค้าสามารถเลือกอะไร อย่างไรและเมื่อใดและข้อมูลอะไรที่จะแบ่งปันได้) และช่วยให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสวนในไร่ได้ตลอดเวลา ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้

ในช่วงมี 2017 นี้เองที่เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นเกษตรกรสามารถจัดการกับการปลูกพืชให้เหมาะต่อสภาพอากาศได้ในระดับตลาด (mass market) สามารถคาดการณ์ผลผลิตในอนาคตได้จนสามารถวางแผนการตลาดได้ ทำให้เราเริ่มเห็นว่าจะมีหลักประกันต่อเกษตรกรมากขึ้นเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงสำหรับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยรวมถึงการพยากรณ์ความแห้งแล้งและความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตอบสนองต่อป่าและพืชต่อสภาพอากาศ และการใช้น้ำในชนบท

2. ฟาร์มในร่มและเกษตรในเมือง

ปัจจุบันนี้ประมาณ 20% ของการผลิตอาหารของโลกเกิดขึ้นในเมืองมากกว่าชนบท โดยการปลูกพืชในร่มนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการทำฟาร์มในเมืองในสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐและการผลิตกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมายอีก 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความสำคัญเพราะตัวเลขการปลูกกัญชาจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการอนุญาตให้มีการปลูกกัญชาได้อย่างถูกกฎหมายเพิ่มมากขึ้น

หนึ่งในบริษัทที่สร้างโซลูชั่นสำหรับผู้ปลูกต้นไม้ในบ้านคือ บริษัท Leaf ที่มีการพัฒนาระบบการปลูกพืชที่ติดตั้งได้เองโดยอัตโนมัติที่ควบคุมได้โดยสมาร์ทโฟน โดยระบบนี้มีปั๊ม, แสง, พัดลมกรองคาร์บอน (เพื่อป้องกันบ้านไม่ให้มีกลิ่นของพืชที่ปลูก เช่น กลิ่นของกัญชา) และสารอาหารที่จำเป็นในการเพาะกัญชาและให้ผลผลิตกัญชา 4 - 5 ออนซ์

นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์และกล้อง HD ที่จะส่งข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟนของคุณสำหรับการติดตามการเติบโตของพืชอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายยังคงสูงเพราะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15 - 50 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ดังนั้นในอนาคตอาจจะมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ซึ่งก็ต้องรอดูต่อไป

อีกวิธีหนึ่งในการทำฟาร์มในเมืองคือ Freight Farms คือการสร้างฟาร์มที่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ด้วยการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ ให้เป็นฟาร์มปิดที่เรียกว่า ‘Leafy Green Machine’ โดยภายในมีอุปกรณ์ที่จำเป็นทุกอย่างสำหรับการปลูกพืช โดยมีการออกแบบในการใช้แพลตฟอร์ม IoT ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาพการเติบโตได้ละเอียดยิ่งขึ้นในแบบเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น การใช้แพลตฟอร์ม Xively ที่เป็นแพลตฟอร์ม IoT ของ LogMeIn ช่วยให้เกษตรกรสามารถประเมินพืชได้จากระยะไกล ติดตามสภาพอุณหภูมิ ความชื้น ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และการเจริญเติบโตของพืชได้

เมื่อใดก็ตามที่สถานะเปลี่ยนแปลงไป จะมีการแจ้งเตือนให้ทราบ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากผู้ใช้จะช่วยให้ Freight Farm สามารถปรับปรุงบริการได้ โดยทำให้พวกเขามีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของตน (ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชุดสำเร็จรูปของการปลูกพืชผัก) โดยในอนาคตอันใกล้ สวนในตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการปลูกพืชในเมือง แต่มีการคาดการณ์ว่าภาชนะที่มีประสิทธิภาพในการเก็บน้ำอาจเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่มีภัยแล้งอันเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก ซึ่งมันจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมการเกษตรอัจฉริยะในรูปแบบต่างๆ เช่น การผลิตและการขายชุดสำเร็จรูปในการเพาะปลูก, ชนิดเมล็ดพืชพรรณที่หลากหลาย เป็นต้น

3. แมลงที่กินได้และสารอาหารจากพืช

โปรตีนจากแมลงจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญในระดับโลก แมลงเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ง่าย ตัวอย่างเช่น บริษัท Tiny Farm ในสหรัฐอเมริกา ใช้ IoT และระบบอัตโนมัติในการสร้างระบบการเลี้ยงแบบอัจฉริยะและสามารถปรับขนาดได้ง่ายให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของแมลง ซึ่งรวมถึงการมีเซ็นเซอร์ที่สมบูรณ์แบบและแพลตฟอร์มการตรวจจับข้อมูลสำหรับการติดตาม วิเคราะห์และการเพิ่มประสิทธิภาพ แอพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องช่วยให้มีการติดตามที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าแมลงโปรตีนที่เลี้ยงไว้จะมีสุขภาพที่ดี

ธุรกิจสตาร์ทอัพได้เติบโตขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีการนำเทคโนโลยีทางอาหารมาใช้ควบคู่ไปกับการทำฟาร์มเพื่อมาแข่งขันในธุรกิจอาหารเสริมที่ทดแทนแป้งอย่างเช่นบริษัท Soylent เป็นต้น

4. หุ่นยนต์

จากการสำรวจสำมะโนประชากรการเกษตรในปี 2012 เปิดเผยว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อายุเฉลี่ยของเกษตรกรสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้นเกือบ 8 ปี จากเดิมที่มีอายุเฉลี่ย 50.5 ปีเป็น 58.3 ปี นั่นคือในอนาคตจะมีคนที่อยากจะทำอาชีพเกษตรกรลดน้อยลง ดังนั้นเป็นไปได้ว่าในระยะยาว หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตรในอีกสองทศวรรษข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่าหุ่นยนต์มีต้นทุนที่ถูกกว่าและฉลาดกว่า

5. ค่าใช้จ่ายยังคงเป็นอุปสรรค

ในขณะ IoT ได้เข้ามามีบทบาทในการทำฟาร์มมากขึ้น แต่ก็มีรายงานจาก Lux Research ในเดือนมิถุนายน 2016 ชี้ให้เห็นว่าต้นทุนการให้บริการและสินค้าเฉพาะกลุ่มกำลังชะลอการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับเงินอุดหนุน แต่การทำฟาร์มนั้น ผลกำไรขึ้นกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและการประหยัดต้นทุนเช่นน้ำและปุ๋ย

นอกจากนี้ เรื่องที่จำเป็นก็คือความครอบคลุมของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ห่างไกลที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ จึงทำให้การพัฒนามาตรฐาน Narrow-Band IoT (NB-IoT) จะทำให้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้นานโดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เป็นเวลานานหลายปี นอกจากนี้จะยิ่งดียิ่งขึ้น หากสามารถขยายไปถึง ห้องใต้ดิน โรงนาและไซโลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางสัญญาณมือถือ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ IoT ทั้งหลายอีกด้วย

สรุปภาพเชิงยุทธศาสตร์ไดัว่า รัฐบาลในประเทศเกษตรกรรมกำลังเผชิญภัยเงียบจากการที่เทคโนโลยี Agtech กำลังแอบเคลื่อนตัวอยู่ในกลุ่มคนสังคมเมือง จนอาจทำให้เกษตรกรเดิมในอนาคตสูญเสียตลาดในการขายผลผลิตในรูปแบบการผลิตเดิมๆ ซึ่งหากวิเคราะห์จากรายงานวิจัยของ World Economic Forum หลายฉบับ จะสามารถคาดการณ์ได้ว่า ปรากฎการณ์อุตสาหกรรมการเกษตรรูปแบบใหม่ (Agtech) จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรแบบดั้งเดิมตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรจึงเป็นจุดวิกฤติที่จะทำให้กับดักด้านรายได้ (middle income trap) จะดิ่งลงหรือหลุดพ้นออกมาได้

Reference

https://www.farmist.org/…/5-ways-the-new-connected-agricul…/

------------------

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ประวัติ: http://www.xn--42cf0a8cxa3ai5ple.com/?p=165

13 ตุลาคม 2560

www.เศรษฐพงค์.com

Powered by MakeWebEasy.com