Last updated: 13 มี.ค. 2560 | 438 จำนวนผู้เข้าชม |
ใครเขียนไว้ไม่รู้ แต่ใช่เลย...!!
ความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศด้อยพัฒนา
•ไม่ได้อยู่ที่การไม่เคยเสียเอกราชให้ใคร
สามารถดูได้จากประเทศ ญี่ปุ่น เยอรมัน แม้จะแพ้สงครามโลก
แต่ก็กลับมายิ่งใหญ่ในเศรษฐกิจโลก
•ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้น ๆ
สามารถดูได้จากประเทศ อินเดีย อียิปต์
ซึ่งมีอารยธรรม มานานกว่า 3,000 ปี แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังยากจน
ในขณะที่ประเทศเกิดใหม่ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ที่เป็นประเทศเล็ก ๆ ไม่มีศักยภาพอะไรเลย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่วันนี้กลับพัฒนาจนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ร่ำรวยได้
•และความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศด้อยพัฒนา
ก็ไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรของประเทศอีกนั่นล่ะ
ญี่ปุ่น ที่มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยมาก 80% ของพื้นที่เป็นภูเขา ไม่เหมาะในการทำเกษตรกรรม
แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่ส่งออกอาหาร และ สินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก
สวิสเซอร์แลนด์ อากาศหนาวจัดจนใน 1 ปี ทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือนและ ไม่มีการทำไร่โกโก้เลย
แต่กลับทำช็อคโกแลตส่งออกรายใหญ่ของโลก
และยังนำเอาความซื่อสัตย์ ความตรงเวลา
ความมีระเบียบของคน มาใช้ประโยชน์
จนได้รับการยอมรับให้เป็นธนาคารของโลก
สีผิว และ เผ่าพันธุ์ก็ไม่ใช่เหตุผลอีกแหละ
เพราะเมื่อแรงงานที่เคยขี้เกียจในประเทศของตน
ย้ายไปอยู่และหากินในประเทศที่เจริญแล้ว
กลับกลายเป็นแรงงานที่ขยันด้วยซ้ำไป
แล้วอะไรที่ทำให้แตกต่าง ?
สิ่งที่แตกต่าง คือ ทัศนคติ ที่ฝังรากลึกมานานปี ผ่านระบบการศึกษา และการอบรมปลูกฝัง
จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว
พบว่าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักปรัชญา ได้แก่
1.ใช้จริยธรรมนำทางชีวิต (Ethics as the basic principle)
2.ความซื่อสัตย์ (Integrity)
3.ความรักในงาน (Work Loving)
4.ความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility)
5.จิตใจมุ่งมั่น สู่ความเป็นที่หนึ่ง ( Will of super action)
6.การเคารพต่อกฏระเบียบ (Respect to the law and rules)
7.การเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น (Respect to the rights of other citizens)
8.การตรงต่อเวลา (Punctuality)
9.การออมและความสนใจในการลงทุน (Strive for saving and investment)
แต่น่าเสียดายที่ในประเทศด้อยพัฒนา
มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ใช้หลักปรัชญาเหล่านี้ในการดำเนินชีวิต !
ประเทศไทยของเรายังเป็นประเทศด้อยพัฒนา ไม่ใช่เพราะเราขาดทรัพยากร หรือมีภัยธรรมชาติเป็นปัญหา
แต่เพราะเราขาดทัศนคติ และแรงผลักดันที่สอดคล้องไปตามหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตที่กล่าวมาต่างหาก !!
13 ก.พ. 2561
13 ก.พ. 2561
13 ก.พ. 2561
12 มี.ค. 2561