ต้นไม้แห่งความไว้วางใจ

Last updated: 24 ต.ค. 2560  |  1711 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต้นไม้แห่งความไว้วางใจ

เมื่อกูรูชื่อดังระดับโลกด้านการพัฒนาผู้นำ Stephen M.R. Covey ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “Collaboration in The Speed of Trust” ในการประชุมระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ กับสำนักงาน ก.พ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 วันที่ 31 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว

ปัจจุบัน ไม่มีคำใดสำคัญกว่าคำว่า “ความเชื่อ (Trust)” เนื่องจาก ปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาคนในยุคปัจจุบันคือ

“ความเชื่อ”

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

3 ไอเดียสำคัญที่ทำให้ “ความเชื่อ” เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคน คือ

1) ความเชื่อคือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง ถ้าสังคมไหนมีความเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ สังคมนั้นก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง

2) ความเชื่อสามารถเรียนรู้ได้

3) ความเชื่อ คือความมั่นใจซึ่งกันและกัน เพื่อมั่นมีความมั่นใจ การทำสิ่งต่าง ๆ ก็จะง่ายขึ้น

ความเชื่อ เปรียบเสมือนต้นไม้ แบ่งได้เป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรม (Behavior) และความน่าเชื่อถือ (Credibility)

พฤติกรรม (Behavior) เมื่อเปรียบกับต้นไม้ จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ฝังรากลึกอยู่ในดิน หรือ รากของต้นไม้ ซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่า อุปนิสัย (Character) และส่วนที่เป็นต้นไม้เหนือพื้นดินขึ้นมา คือ ความรู้ความสามารถ (Competence)

ทั้งนี้ พฤติกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 3 เรื่อง 13 พฤติกรรมหลัก ได้แก่

1) Character คุณลักษณะ

o Talk straight

o Demonstrate respect

o Create transparency

o Right wrongs

o Show loyalty

2) Competence ความรู้ความสามารถ

o Deliver results

o Get better

o Confront reality

o Clarify expectations

o Practice accountability

3) Character & competence ทั้งสองอย่าง

o Listen first

o Keep commitments

o Extend trust

ในส่วนของความน่าเชื่อถือ (Credibility) แบ่งได้เป็น 4 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่

1) Integrity : การทำในสิ่งที่ถูกต้อง (doing the right thing) คือ การกระทำตามสถานการณ์ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเอง ว่าตัดสินใจอย่างไร จะซื่อสัตย์ต่อตนเองอย่างไร สร้างมาตรฐานอย่างไรต่อ generation ต่อไปอย่างไร การกระทำของเราจะสร้างความเชื่อต่อคนรุ่นต่อไป

2) Intent: เจตนารมณ์ การที่คนเราจะไว้เนื้อเชื่อใจกัน จะเกิดจากการเชื่อในเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคน ๆ นั้น ดังนั้น อย่าปล่อยให้คนอื่นคาดเดา ต้องประกาศเจตนารมณ์ของเราให้ชัดเจน ต้องไม่มีวาระซ่อนเร้น (Hidden agenda) รวมทั้ง อย่ามองเจตนารมณ์ของผู้อื่นในเชิงลบตลอดเวลา ต้องมองในเชิงบวกบ้าง

3) Capabilities: ความรู้ความสามารถ ต้องพิจารณาตัวเองอยู่เสมอว่า เราเหมาะสมที่จะนั่งตรงนี้หรือไม่ และพึงระลึกเสมอว่า ความสำเร็จในอดีตไม่การันตีว่าจะพาองค์กรให้สำเร็จได้ในวันข้างหน้า

4) Results: ผลลัพธ์

ดังนั้น การที่เราจะเป็นคนที่น่าเชื่อถือได้นั้น อุปนิสัยอย่างเดียวไม่พอ เราต้องมีความรู้ความสามารถด้วย เราต้องหมั่นส่องกระจกดูตัวเอง พิจารณาต้นไม้ของตัวเอง ในทุกประเด็น แล้วสิ่งนั้นจะกลายเป็น “ต้นไม้แห่งความไว้วางใจ”

Powered by MakeWebEasy.com