หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

Last updated: 8 พ.ค. 2560  |  384 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ไว้เตือนใจตัวเอง 1 1 การทำบุญ ตักบาตร ทำทานในพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนระดับ มัธยมต้น 2 2 เพิ่มการรักษาศิล เข้าไปด้วย เปรียบเหมือน มัธยมปลาย 3 3 เพิ่มการไห้วพระ สวดมนต์ เจริญภาวนา เข้าไปอีก เปรียบเหมือน ระดับ อุดมศึกษา 4 4 เมื่อทำทาน รักษาศิล 5 เจริญภาวนา จนจิตเกิดเป็นสมาธิแล้ว ตัวปัญญาก็จะเกิดตามมาเอง เปรียบเทียบกับระดับ นิสิต นักศึกษา ปีต้นๆ (เริ่มจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว)(เมื่อมี ศิล สมาธิ ปัญญา แล้ว กงล้อพระธรรมก็เริ่มเคลื่อนหมุนไปสู่จุดหมายปลายทาง สิ้นสุดที่พระนิพพาน) 5 5 ถ้าจะเป็นผู้ใหญ่จริง ต้องเพิ่ม พรหมวิหาร 4 เข้าไปด้วย พรหมวิหาร 4 ก็เริ่มมาจากการทำทาน ส่วนใหญ่การทำทานที่เราทำกัน ก็ต้องมีวัตถุ สิ่งของ เป็นปัจจัยในการทำทานแต่ละครั้ง วัตถุ สิ่งของที่นำมาทำทานนี้ ก็หามาด้วยความเหนื่อยยากทั้งสิ้น จะสละทำทานได้ก็ต้องมี เมตตาสูงมาก จึงจะเต็มใจ สละทำทานได้ เมื่อตัดใจสละ(ให้)วัตถุสิ่งของ จึงจะเป็นตัว กรุณา (ตัวที่2ของพรหมวิหาร4) สมบูรณ์แบบ(ตอ้งมีตัวให้ด้วย) ไม่ว่าจะให้ วัตถุสิ่งของ ให้การแนะนำ และการให้ใดๆ ที่ปราถนาให้ผู้รับมีความสุข ล้วนเป็นตัวกรุณาทั้งสิ้น สำหรับตัวมุฑิตา ก็มาจากการแสดงความยินดี ดีใจ จากใจจริง (ไม่เสแสร้ง ไม่สร้างภาพ) เมื่อผู้อื่นกระทำความดี (ต้องแสดงออกด้วย อาการ กริยา ท่าทาง เหมือนความดีอันนั้นตัวเราเป็นผู้กระทำด้วยตัวเอง ลองทำกันดู)ให้บริสุทธิ์ใจจริงๆ เหมือนมีเพื่อนมาบอกว่า มีโชคถูกหวย เราก็แสดงความยินดีเหมือนตัวเราก็ถูกด้วย ทำนองนั้น เหลือตัวสุดท้าย ตัวอุเบกขา (ตัวนี้สำคัญเพราะโง่มานาน) เมื่อมีผู้อื่น มีความคิด ความเห็น หรือการกระทำ ไม่ถูกต้อง เราควรให้คำแนะนำที่เห็นว่าถูกต้องให้ เขาอาจไม่เชื่อ หรือแม้แต่เขาจะเชื่อ แต่เขาก้ทำตามไม่ได้ ก็ต้องใช้ การวางเฉย อุเบกขา ที่ว่าโง่มานานเพราะไม่เข้าใจว่าใช้อย่างไร ไม่ใช่ใช้กับคนอื่น ใช้อุเบกขาแก่ตัวเราเอง วางเฉยให้ใจเราเอง ไม่ให้ใจเราเป็นทุกข์ในสิ่งที่เราไม่เป้นผู้กระทำ จึงครบเป็นพรหมวิหาร 4 พร้อมวิธีใช้ บอกให้แล้ว ต่อไปก็เป็นนักศึกษาผู้ใหญ่ได้แล้ว ตัวจะปฏิบัติจริงๆ ถัาทำตรง ทำถูกต้อง มันไม่ยุ่งยาก ไม่มากมายดังเช่นตำราสักหน่อย เช่นเดียวกับการทำอาหาร ตามตำราต้องใช้ กี่ขีด กี่กรัม กี่ถ้วยตวง กี่ช้อนชา กี่ช้อนแกง พอทำเป็นแล้วก็ไม่ต้องยึดตำราให้มากมายนัก ยึดพอเป็นแนวทางเท่านั้น แล้วปรับปรุงรสชาติเองตามความชอบของแต่ละคน สูตรใคร สูตรมัน ขอแต่ให้ทดลองทำกันเองจริงๆเถอะ ก้จะเข้าใจเอง เช่นเดียวกับการภาวนาก็เหมือนกัน ไม่ต้องกำหนดท่าทางอะไรให้มากเลย เพียงขอให้พยายามทำความรู้สึกทุกครั้งที่เราหายใจ เข้า ออก ตัวรู้สึกว่าหายใจเข้า หายใจออก นี้คือตัว สติ(แค่นี้) ตัวที่รู้ว่าลมเข้า จากจมูกรู้สึกไหลเรื่อยคล้ายสายน้ำไหลจนสุดที่ท้อง(ตัวรู้รายละเอียดของ สติ คือตัว สัมปัชชัญญะ)ทำไป 10 ครั้ง 100 ครั้ง จนลมหายใจหยุดเอง มันก็จะเป็นสมาธิเอง ทำไปบ่อยๆ นานๆเข้า ตัวปัญญาก็จะเกิดตามมาเองอีกเหมือนกัน ลองทดลองทำดูเองเถิด มือก็ทำงานไปตามปกติ ประจำวัน ของแต่ละคน ส่วนใจก็กำหนด ลมหายใจเข้า ออก ไปด้วย การกำหนดทุกลมหายใจเข้าออก(พยายามทำให้ได้)มันจะครอบคลุมอริยาบถทั้ง 4 นั่ง นอน ยืน เดิน เราทำรวบยอดครอบคลุมทั้งหมด ถ้าไม่ได้ดี ก็ให้มันรู้ไป สุดท้ายนี้ ขอให้สำเร็จ โชคดี เข้าสู่พระนิพพานด้วยความสะดวก รวดเร็ว ทุกๆท่าน เทอญ.

Powered by MakeWebEasy.com