บทความเกี่ยวกับวันสงกรานต์ (บางคนไม่รู้เลย)

Last updated: 24 เม.ย 2560  |  707 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บทความเกี่ยวกับวันสงกรานต์ (บางคนไม่รู้เลย)

@svh9535i

ได้เห็นทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอวันนี้กันมานาน เนื่องจากเป็นวันที่ได้หยุดยาว ใครที่มีโปรแกรมแล้วก็จะไปท่องเที่ยวผ่อนคลายตามที่ตัวเองได้ตั้งไว้ แต่ใครที่ยังไม่มีก็จะไปเล่นสาดน้ำกับเพื่อนๆเอาตามสถานที่ดังๆ แต่เนื่องจากว่าช่วงนี้ได้เกิดเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นกับประเทศเรา ยังไงก็เล่นกันอย่างมีสตินะค่ะ

วันนี้ไปอ่านเจอบทความจากเว็บนึงที่เขาเอามาให้อ่าน ก็เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆได้ลองอ่านดูด้วย บทความนี้มีอยู่ว่า

หลวงวิจิตรวาทการ ได้เขียนอธิบายเรื่อง วันสงกรานต์ ไว้ในนวนิยายเรื่อง ‘กรุงแตก’ และ ‘ฟากฟ้าสาละวิน’ เป็นมุมมองที่ผิดไปจากความเข้าใจทั่วไป แต่เป็นคำตอบที่เกี่ยวกับที่มาของวันสงกรานต์ที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการมองวันสงกรานต์ในแง่ที่ค่อนข้างลบ ซึ่งดูไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีผู้ที่เห็น

วันสงกรานต์ไม่เป็นวันดี

แต่ถ้าผู้อ่านมองเห็นเจตนารมณ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งมีความรักชาติอย่างแรงกล้าแล้ว ท่านก็คงจะเข้าใจ และให้อภัยในถ้อยคำที่ท่านจะได้อ่านต่อไป

“วันสงกรานต์” ซึ่งเริ่มในเดือน ๕ นั้น เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับชาวพม่า เพราะ

เป็นปีใหม่ของเขา ปีใหม่ของเขาต้องเป็นต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ต้องเป็นวันสำคัญที่สุด อันที่จริงต้นเดือน ๕ และวันสงกรานต์ หรือปีตามจุลศักราชนั้น ควรจะเป็นวันที่ระลึกของพม่าอย่างแท้จริง และเป็นงานชิ้นหนึ่งที่พม่าทำไว้ เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะเหนือชนชาติอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเหนือ

ชนชาติไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมื่อก่อน ๓๘๐ ปีมาแล้ว ไทยเราใช้พุทธศักราช หรือมหาศักราช และเริ่มปีใหม่ของเราในเดือนอ้าย ซึ่งเรานับเป็นเดือนที่ ๑ และตกในราวธันวาคม ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ พม่าได้นำเอาจุลศักราชมาบังคับให้เราใช้ พร้อมกับการขึ้นปีใหม่ในต้นเดือน ๕ การให้วันสำคัญในวันสงกรานต์นั้น เป็นเครื่องหมายของความพ่ายแพ้ เพราะเราได้ตกเป็นทาสของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี แต่ไทยเราเป็น

ชาติที่ลืมง่าย และรับขนบธรรมเนียมของต่างชาติได้ง่าย วันที่เราถูกบังคับให้ใช้ เพราะเคยแพ้เขาและเป็นเมืองขึ้นเขา ได้กลับกลายมาเป็นวันสำคัญของเราเอง

“ต่อมาอีก ๒๐๐ ปี คือใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ได้เตือนให้เราทราบอีกครั้งหนึ่ง

ว่าวันสงกรานต์นั้นคือวันเคราะห์ร้ายพ่ายแพ้ของไทย เป็นวันแห่งความมีชัย

ของพม่า เมื่อกองทัพพม่ามาล้อมกรุงเป็นครั้งที่ ๒ ในสมัยของมังระ ราชโอรส

ของอะลองพญา ล้อมอยู่ตั้งปียังตีไม่ได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ของพม่า

ได้เตรียมการทุกอย่างที่จะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ในวันสงกรานต์ ซึ่งเขาถือเป็น

วันโชคชัย ก่อนจะถึงวันนั้น พม่าได้ทำสะพาน ขุดอุโมงค์เข้ามาจนถึงเชิง

กำแพงพระนครศรีอยุธยา ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเนาว์

สงกรานต์ของปีนั้น เนเมียวสีหบดีก็ออกคำสั่งว่าต้องตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกใน

วันนี้ให้จงได้ เพราะเป็นวันสำคัญ เป็นวันฤกษ์งามยามดีของเขา

“พอบ่ายสามโมงวันนั้น พม่าก็จุดไฟสุมกำแพงเมือง พอเวลาพลบค่ำ กำแพงเมืองตอนที่ถูกไฟสุมนั้นก็ทรุดลง ในเวลาสองทุ่ม พม่าก็เข้าเมืองได้ และได้เปิดประตูรับทหารพม่าเข้าเมืองได้ทุกด้าน กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒

“ถ้าเป็นชนชาติอื่น เขาจะต้องถือวันสงกรานต์เป็นวันอัปมงคล เขาจะไม่นำวันนี้

เป็นวันขัตฤกษ์ รื่นเริงสนุกสนานเล่นสาดน้ำ หรือทำอะไรกันอย่างที่เราทำ

ตรงกันข้าม บางทีเขาจะถือเอาวันอย่างนี้ เป็นวันไว้ทุกข์ให้แก่ชาติ แต่ไทย

เราลืมง่าย วันแพ้ วันอัปมงคล วันที่ตกเป็นทาส ก็ไม่เป็นไร เรายังถือเป็น

วันสำคัญ นางสงกรานต์ยังมีชื่อไพเราะเพราะพริ้ง มีเครื่องแต่งกายที่สวยงาม

ทัดดอกไม้ต่าง ๆ ประทับบนหลังสัตว์หลายชนิด นับถือบูชากันจนกระทั่งทุก

วันนี้ ไม่มีชาติไหนที่จะใจดีเหมือนกับชาติไทยเรา”

หลวงวิจิตรวาทการได้ให้ข้อคิดแก่เราไว้ว่า ถ้าเราจะทำบุญในวันสงกรานต์

ก็ควรจะทำเผื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ชาวไทยที่เสียชีวิตไปในการศึกครั้งกระโน้น

แผ่ให้แต่เฉพาะพวกที่ตายไปด้วยความกล้าหาญ ด้วยความเสียสละ ด้วยความรักชาติบ้านเมือง มิใช่แผ่ให้แก่พวกที่หนีทัพ หรือพวกไม่ทำอะไร นอนรอเวลาตาย พวกที่มุ่งคอยแต่จะใช้ให้คนที่เขาเรียกว่า ‘พวกไพร่’ ไปตายแทนเขา หรือพวกที่ทำร้ายคนไทยกันเองเพื่อเอาใจศัตรูซึ่งเป็นผู้ชนะ คนพวกนี้เขามีบุญกุศลอยู่มากแล้ว ไม่ต้องแผ่ไปให้อีก

ท่านผู้อ่านคงจะได้สัมผัสกับความรู้สึกที่รุนแรงของหลวงวิจิตรวาทการที่มีต่อ

วันสงกรานต์ ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ความรักชาติของหลวงวิจิตร

วาทการมิได้จำกัดอยู่แต่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอดีตและ

อนาคตอีกด้วย ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้น ท่านชื่นชมเคารพบูชา

พระกษัตราธิราชเจ้า ที่ได้ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อกู้ชาติให้เราได้มีแผ่นดินอาศัยอยู่ เช่นองค์สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ

พระผู้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เมืองไทยได้เป็นที่รู้จักไปไกลถึงยุโรป

เช่นสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้น และในขณะเดียวกัน ท่านก็เห็นว่า ผู้ที่ได้ทำความล่มสลายให้แก่แผ่นดินไทยนั้น ยากที่จะได้รับการให้อภัย เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของไทยเราก็ไม่ควรที่จะลืมง่าย แต่ควรถือเป็นบทเรียน เพื่อจดจำมิให้อดีตต้องซ้ำรอยได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อเขียนเกี่ยวกับวันสงกรานต์นี้แล้ว หลวงวิจิตรวาทการ

ก็มิได้แสดงการต่อต้านในทางอื่นใด ท่านใจกว้างพอที่จะมองเห็นคุณความดี

ของวันสงกรานต์ที่มีต่อจิตใจของคนทั่วไป รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม ที่ชาวไทยถือปฏิบัติกันในวันขึ้นปีใหม่ ในครอบครัวของท่านเอง ลูก ๆ ก็ยังถูกสอนให้นำพวงมาลัย หรือผ้าไปกราบคุณยายในวันสงกรานต์ เพื่อขอพรจากท่าน สิ่งเดียวที่ขัดตาขัดใจของหลวงวิจิตรวาทการ คือการละเล่นที่รื่นเริงเกินขอบเขตของชนรุ่นหลัง ท่านจึงอยากให้สำนึกเสียบ้างว่า ความสนุกสนานจนเกินเลยของเขาเหล่านั้น มีที่มาอย่างไร บางทีหากเขาได้ทราบความเป็นมาในอดีตของวันสงกรานต์ ก็อาจทำให้เขาเหล่านั้นเล่นสงกรานต์กันอย่างมีสติขึ้น

ก็ได้...

Powered by MakeWebEasy.com