Last updated: 8 มี.ค. 2561 | 1290 จำนวนผู้เข้าชม |
หลักการพ้นทุกข์ด้วย "สติปัฏฐาน ๔" คือ การตั้งฐานแห่งการกำหนดสติให้อยู่กับปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ท่านสอนให้เอาสติกำหนดไว้ ๔ อย่าง คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดดูการเคลื่อนไหวของกาย ในการยืน นั่ง นอน หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติเข้าไปกำหนดดูเวทนา จากความรู้สึก สุข ทุกข์ เจ็บ ปวด เมื่อย กำหนดรู้ให้ทัน
๓. จิตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ตั้งสติกำหนดรู้ดูอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านคิดอะไรก็รู้ทันอาการของจิต
๔. ธัมมานุสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติเข้าไปกำหนดดูธรรมที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เช่น ความไม่เที่ยงของร่างกาย และอาการต่างๆ ของนิวรณ์ เช่น การง่วง เบื่อ เซ็ง อาฆาตพยาบาท เป็นต้น
การทำสติปัฏฐาน เป็นธรรมะขั้นสูงลึกซึ้ง จึงยากต่อการปฏิบัติ ต้องค่อย ๆ ศึกษาให้เข้าใจและหมั่นปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดความชำนาญ ถึงจะพ้นทุกข์ได้ คนที่มีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา ถือว่าเป็นคนที่มีโชค มีบุญ เพราะจะรู้ว่าตนเองจะทำอะไรก็รู้ตัว ทำดีก็รู้ตัวว่าดี ทำชั่วเมื่อรู้ตัวก็จะได้ไม่ทำ
ดังพุทธภาษิตที่ว่า "สะติมะโต สุเว เสยโย แปลว่า คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน" ดังนั้น ควรเจริญสติกันไว้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561