ปรมาจารย์ ขงจื๊อ

Last updated: 3 พ.ค. 2560  |  531 จำนวนผู้เข้าชม  | 

(551-479 ปีก่อนปีคริสตกาล)

สอนไว้ว่า

•หากเจ้าวางแผนไว้ 1 ปี

.............. จงปลูกข้าว

–หากเจ้าวางแผนไว้ 10 ปี

.............. จงปลูกต้นไม้

•หากเจ้าวางแผนไว้ 100 ปี

............... จงให้ความรู้ แก่บุตรหลาน!

ความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศด้อยพัฒนา

•ไม่ได้อยู่ที่การไม่เคยเสียเอกราชให้ใคร

•สามารถดูได้จากประเทศ ญี่ปุ่น เยอรมันแม้จะแพ้สงครามโลก

แต่ก็กลับมายิ่งใหญ่ในเศรษฐกิจโลก

•ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้นๆ

สามารถดูได้จากประเทศ อินเดีย อียิปต์ ซึ่งมีอารยธรรม มานานกว่า 3,000 ปี

แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังยากจน

ในขณะที่ประเทศเกิดใหม่ เช่นสิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่เป็นประเทศเล็กๆ ไม่มีศักยภาพอะไรเลย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่วันนี้กลับพัฒนาจนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ร่ำรวยได้

•และความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศด้อยพัฒนา ก็ไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรของประเทศอีกนั่นล่ะ ญี่ปุ่น ที่มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยมาก 80% ของพื้นที่เป็นภูเขา ไม่เหมาะในการทำเกษตรกรรม แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่ส่งออกอาหาร และ สินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก

สวิสเซอร์แลนด์ อากาศหนาวจัดจนใน 1 ปี ทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือนและ ไม่มีการทำไร่โกโก้เลย

แต่กลับทำช็อคโกแลตส่งออกรายใหญ่ของโลก และยังนำเอาความซื่อสัตย์ ความตรงเวลา

ความมีระเบียบของคน มาใช้ประโยชน์ จนได้รับการยอมรับให้เป็นธนาคารของโลก

สีผิว และ เผ่าพันธุ์ก็ไม่ใช่เหตุผลอีกแหละ เพราะเมื่อแรงงานที่เคยขี้เกียจในประเทศของตน ย้ายไปอยู่และหากินในประเทศที่เจริญแล้วกลับกลายเป็นแรงงานที่ขยันด้วยซ้ำไป

แล้วอะไร

ที่ทำให้แตกต่าง ?

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักปรัชญา ได้แก่

1.ใช้จริยธรรมนำทางชีวิต (Ethics as the basic principle)

2.ความซื่อสัตย์ (Integrity)

3.ความรักในงาน (Work Loving)

4.ความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility)

5.จิตใจมุ่งมั่น สู่ความเป็นที่หนึ่ง ( Will of super action)

6.การเคารพต่อกฏระเบียบ (Respect to the law and rules)

7.การเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น (Respect to the rights of other citizens)

8.การตรงต่อเวลา (Punctuality)

9.การออมและความสนใจในการลงทุน (Strive for saving and investment)

แต่น่าเสียดายที่ในประเทศด้อยพัฒนา

มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ใช้หลักปรัชญาเหล่านี้ในการดำเนินชีวิต ประเทศไทยของเรายังเป็นประเทศด้อยพัฒนา ไม่ใช่เพราะเราขาดทรัพยากร หรือมีภัยธรรมชาติเป็นปัญหา

แต่เพราะเราขาดทัศนคติ และแรงผลักดันที่สอดคล้องไปตามหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตที่กล่าวมา

Powered by MakeWebEasy.com